วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559
อาชีพในฝัน
วิศวะ เป็นอาชีพในฝันของผมเพราะผมอยากเป็นคนต่อวงจร หรือระบบต่างๆ นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ผมอยากเป็นวิศวะ
ท้าวแสนปม
เป็นโรคผิวหนังที่ถ่ายทอดโดยโครโมโซม ลักษณะที่พบคือ
ร่างกายจะมีตุ่มเต็มไปทั่วร่างกาย ขนาดเล็กไปจนใหญ่ แบ่งเป็น 2 ชนิด
คือชนิดที่พบบ่อย พบประมาณ 1 ใน 2,500 ถึง 3,500 คน
โดยพบอาการอย่างน้อย 2 ใน 7 อาการต่อไปนี้คือ มีปานสีกาแฟใส่นมอย่างน้อย 6 ตำแหน่ง,
พบก้อนเนื้องอกตามผิวหนัง
2 ตุ่มขึ้นไป, พบกระที่บริเวณรักแร้หรือขาหนีบ, พบเนื้องอกของเส้นประสาทตา,
พบเนื้องอกของม่านตา
2 แห่งขึ้นไป, พบความผิดปกติของกระดูก
และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้
ดาวน์ซินโดรม
โรคดาวน์ซินโดรม เป็นโรคที่ทุกคนคงเคยได้ยินชื่ออยู่แล้ว
ที่ผ่านมาพบเด็กจำนวนไม่น้อยป่วยด้วยโรคนี้
และหลายคนต้องใช้ชีวิตอย่างลำบากตั้งแต่เด็กจนโต เพราะโรคนี้ไม่มีทางรักษาหายได้
ทำได้เพียงรักษาไปตามอาการของโรคที่เกิดแทรกซ้อน
แต่ก็ใช่ว่าจะเลวร้ายไปเสียหมดถ้าหากได้รับการดูแลที่ดีก็สามารถที่จะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้ใกล้เคียงคนปกติค่ะ
ลองไปทำความรู้จักโรคดาวน์ซินโดรมให้มากขึ้นอ่านเพิ่มเติม
โรคธาลัสซีเมีย
ถ้าผู้ใดรับการถ่ายทอดสารพันธุกรรมชนิด อัลฟา - ธาลัสซีเมีย หรือ
เบต้า - ธาลัสซีเมีย มาจากบิดาหรือมารดาเพียงฝ่ายเดียว
ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นพาหะอัลฟาธาลัสซีเมีย พาหะฮีโมโกลบินคอนแสตนสปริงค์
พาหะเบต้าธาลัสซีเมีย หรือพาหะฮีโมโกลบินอี แต่ถ้าผู้ใดได้รับการถ่ายทอดสารพันธุกรรมชนิด
อัลฟา - ธาลัสซีเมีย มากจากทั้งบิดาและมารดา หรือชนิด เบต้า - ธาลัสซีเมีย
มากจากทั้งบิดาและมารดา ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นโรคธาลัสซีเมีย เช่น โรคฮีโมโกลบินเฮช
โรคฮีโมโกลบินบาร์ท โรคเบต้าธาลัสซีเมีย หรือ โรคเบต้าธาลัสซีเมียฮีโมโกลบิน
เป็นต้นอ่านเพิ่มเติม
โรคดักแด้
เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์
เกิดจากความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสร้างผิวหนัง หากมีคุณพ่อคุณแม่
หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน ก็สามารถ่ายทอดผ่านทางยีนเด่น (Autosomal
dominant) มาสู่ลูกได้อ่านเพิ่มเติม
โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรัง และก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ
ก่อให้เกิดปัญหากับ ฟันและเหงือก ตา ไต หัวใจ หลอดเลือดแดง
ท่านผู้อ่านสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ โดยการปรับ อาหาร การออกกำลังกาย
และยาให้เหมาะสม ท่านผู้อ่านสามารถนำข้อเสนอแนะจากบทความนี้ไปปรึกษากับแพทย์ที่รักษาท่านอยู่
ท่านต้องร่วมมือกับคณะแพทย์ที่ทำการรักษาเพื่อกำหนดเป้าหมายการรักษา
บทความนี้เชื่อว่าจะช่วยท่านควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น
โรคเลือดออกไหลไม่หยุด
ในคนปกติเมื่อเกิดอุบัติเหตุแขนขาถลอก
หรือมีดบาดเพียงเล็กน้อยยังรู้สึกเจ็บปวด
ยิ่งหากมีเลือดไหลออกมาด้วยก็ยิ่งเพิ่มความเจ็บปวดขึ้นไปอีก แต่รู้หรือไม่ว่า
ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องทรมานกับอาการที่เรียกว่า โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก
หรือ โรคฮีโมฟีเลีย ( Hemoplilia ) ซึ่งหากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีอุบัติเหตุ
หรือมีบาดแผลเกิดขึ้น พวกเขาไม่เพียงแต่จะเจ็บปวดมากกว่าคนปกติ
แต่ทุกวินาทีที่มีเลือดไหลสำหรับผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียแล้ว นั่นอาจหมายถึง
ความเป็นความตายของชีวิตเลยทีเดียวอ่านเพิ่มเติม
โรคตาบอดสี
ตาบอดสี หรือที่เรียกว่า colour blindness เป็นอาการที่ตาของผู้ป่วยแปรผลแปรภาพสีผิดไป
จากผู้อื่นที่เป็นตาปกติ ตาเป็นอวัยวะจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม
หากเกิดความ ผิดปกติไม่ว่า จะเป็นเรื่องใดที่มีผลกระทบต่อการมองเห็น บุคคลนั้นๆ
ย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใด ก็ทางหนึ่ง ภาวะตาบอดสีเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในสังคมมากพอสมควรอ่านเพิ่มเติม
โรคปอดฝุ่นฝ้าย
โรคปอดฝุ่นฝ้าย หรือ บิสสิโนสิส (Byssinosis) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรังที่เกิดจากการสูดหายใจเอาใยของฝ้าย ป่าน ปอ
ลินิน และฝุ่นผงของพืชเข้าไปในปอด ทำให้มีอาการต่าง ๆ ทางระบบทางเดินหายใจ
ถือเป็นหนึ่งในโรคปอดจากการประกอบอาชีพอ่านเพิ่มเติม
โรคฝุ่นหิน
โรคปอดฝุ่นหิน หรือ โรคซิลิโคสิส (silicosis) เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจาก
การสูดหายใจเอาฝุ่นทรายหรือฝุ่นหินต่างๆ ที่มีสาร ซิลิคอนไดออกไซด์
หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าเข้าไปในปอด ซึ่งส่วนมากจะพบในหินทราย โดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-5 ไมครอน ซึ่งสามารถเข้าไป
อยู่ในถุงลมปอดได้ โดยจะถูกเม็ดเลือดขาวในปอดจับกิน และมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อปอด ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด เมื่อยัง
คงหายใจเอาฝุ่นที่มีซิลิกอนไดออกไซด์เข้าไปในปอดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น และการป้องกันควบคุมไม่เหมาะสมอ่านเพิ่มเติม
หรือเรียกว่าผลึกซิลิก้าเข้าไปในปอด ซึ่งส่วนมากจะพบในหินทราย โดยเฉพาะฝุ่นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.05-5 ไมครอน ซึ่งสามารถเข้าไป
อยู่ในถุงลมปอดได้ โดยจะถูกเม็ดเลือดขาวในปอดจับกิน และมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื้อปอด ซึ่งต่อมาจะก่อให้เกิดพังผืดที่เนื้อปอด เมื่อยัง
คงหายใจเอาฝุ่นที่มีซิลิกอนไดออกไซด์เข้าไปในปอดอย่างต่อเนื่องมากขึ้น และการป้องกันควบคุมไม่เหมาะสมอ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)